สภาพทั่วไป
 
 

1. ด้านกายภาพ
1.1 ประวัติและที่ตั้ง
เทศบาลตำบลน้ำริด ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อ พ.ศ. 2539 และต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลน้ำริด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์  ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ   7 – 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางจากตำบลน้ำริดไปยังตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 15 – 20 นาที  

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลน้ำริดมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  30.13  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  18,831.25 ไร่ 
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลน้ำริด   ตั้งอยู่เลขที่  1  หมู่ที่  9   ตำบลน้ำริด  อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่เชิงเขาและพื้นที่ภูเขา  มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ  ติดต่อกับตำบลบ้านด่านนาขาม    อำเภอเมือง    จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศใต้  ติดต่อกับตำบลท่าเสา    อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลงิ้วงาม    อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับตำบลนานกกก อำเภอลับแล    จังหวัดอุตรดิตถ์

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลน้ำริดมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูเพราะได้รับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ มีความชื้น และความร้อนสูง ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส อากาศเย็นสบายในฤดูหนาวและมีฝนตกชุกในฤดูฝน

1.4 การใช้ที่ดิน
เกษตรกรในตำบลน้ำริด มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการทำนาดำ การใช้ที่ดินจึงเป็นการทำการเกษตร ได้แก่ข้าวเจ้านาปี และข้าวเหนียวนาปี ในฤดูแล้งเกษตรกรจะปลูกถั่วลิสงและหอมแดง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ และเกษตรกรน้ำริดยังมีพื้นที่ปลูกไม้ผล ได้แก่ ลางสาด ลองกอง และทุเรียน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลนานกกก อำเภอลับแล, ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์, อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
1)  แหล่งน้ำผิวดิน  เส้นทางน้ำสายหลักของตำบลน้ำริด คือ  คลองริด  คลองหวาย  คลองผึ้ง  คลองชลประทานและคลองชายเขา  นอกจากนี้ มีลำน้ำสาขา ได้แก่ ห้วยแม่ชายเขา ห้วยเจ๊กกี๋ ห้วยน้ำกลึงห้วยห้า ห้วยขี้ควายน้อย      ห้วยน้ำไผ่น้อย เป็นต้น แหล่งน้ำผิวดิน สำคัญที่สุด ต่อการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค มีปริมาณการไหลสม่ำเสมอตลอดปี  
2)  แหล่งน้ำใต้ดิน มีปริมาณน้ำสูงถึงปานกลาง (20-80 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง)  อยู่ในพื้นที่ทุกหมู่ของตำบลน้ำริด  มีคุณภาพดีสามารถนำมาปรับปรุงเป็นน้ำสะอาด ทำระบบประปาหมู่บ้านให้ราษฎรใช้อุปโภคบริโภค 
3)  แหล่งน้ำชลประทาน  ระบบชลประทานในตำบลน้ำริด มีคลองชลประทานผ่านบริเวณหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 10 ของตำบลน้ำริด 

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
      ตำบลน้ำริดโดยส่วนมาของพื้นที่มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ เป็นป่าที่มีพรรณไม้เด่น 5 ชนิด ตามความหมายของคำว่า “เบญจะ” คือ ห้า ได้แก่ ไม้สัก มะค่า แดง ประดู่ และชิงชัน พบป่าชนิดนี้ในบริเวณที่มีฤดูกาลแบ่งแยกชัดเจน มีช่วงแห้งแล้งยาวนานเกินกว่า 3 เดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ต้นไม้เกือบทั้งหมดในป่าเบญจพรรณจะผลัดใบในฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงเมษายน ป่าเบญจพรรณในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักเป็นไม้เด่น ขึ้นคละกับไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด อาทิ ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง แดง ไผ่ไร่ ไผ่ซางดอย และไผ่หก เป็นต้น
      สังคมป่าเบญจพรรณมีไม้ยืนต้นกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน แสงตกถึงพื้นได้มาก มีพืชตระกูลหญ้าอยู่หลายชนิด ฤดูแล้งมักเกิดไฟป่าขึ้นช่วยเผาเศษซากใบไม้แห้งที่สะสมบนพื้นป่า อีกทั้งไฟยังช่วยกระตุ้นให้เมล็ดไม้หลายชนิดงอกงามดี โดยเฉพาะเมล็ดไม้สัก มะค่า และแดง 

2.ด้านการเมือง/การปกครอง
เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 10 เขตติดต่อการปกครองกับพื้นที่ข้างเคียง
 
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน  10  หมู่   ได้แก่  หมู่ที่ 1 – 10
 

รายชื่อหมู่บ้านและผู้นำของตำบลน้ำริด พ.ศ. 2564


หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้นำ

หมายเหตุ

1

บ้านน้ำริดใต้

นายศักดิ์สิทธิ์ สุขมั่น

ผู้ใหญ่บ้าน

2

บ้านน้ำริดเหนือ

นายไสว แก้วอยู่

ผู้ใหญ่บ้าน

3

บ้านไร่

นายเล ซาซง

กำนัน

4

บ้านชายเขา

นางราตรี ชุมพลมา

ผู้ใหญ่บ้าน

5

บ้านชายเขา

นายประเทือง คงสุข

ผู้ใหญ่บ้าน

6

บ้านชายเขา

นายสมมาตร ยาอยุ่สุข

ผู้ใหญ่บ้าน

7

บ้านไผ่ล้อม – ขอนแก่น

นายอุดม ประคุณคงชัย

ผู้ใหญ่บ้าน

8

บ้านฟากทุ่ง

นายสิทธิชัย วงศ์แสนศรี

ผู้ใหญ่บ้าน

9

บ้านม่อนสัมพันธ์

นายผล คำเต่ย

ผู้ใหญ่บ้าน

10

บ้านไร่

นายสุรินทร์ สิทธิปัญญา

ผู้ใหญ่บ้าน

เขตการเลือกตั้ง
เทศบาลตำบลน้ำริดแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต คือ
เขต 1 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 2 3 9 10
เขต 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 4 5 6 7 8
 
จำนวนประชากร
จำนวนประชากรทั้งสิ้น  6,901 คน  แยกเป็น ชาย 3,397 คน  หญิง 3,504 คน  มี  2,576 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 229 คน / ตารางกิโลเมตร


 
 
 
สำนักงานเทศบาลตำบลน้ำริด
เลขที่ 1 ตำบลน้ำริด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์ : 0-5544-7071 โทรสาร : 0-5544-7071 ต่อ 10
E-mail ของเทศบาล : saraban_05530106@dla.go.th
www.namrit.go.th